|
|
 |
 |
ชื่อ |
มะไฟ, มะไฟป่า |
ชื่อพื้นเมือง |
ตะปึ๊ดจือ(กะเหรี่ยง), มะไฟป่า(ไทลื้อ,คนเมือง), เบล่มเพี่ยว(ปะหล่อง), แผละชาร์ล(ลั้วะ), ไฮ่เพี่ยว(ปะหล่อง), มะจือซะ(กะเหรี่ยง), ซะมิโจ้เหมาะ(กะเหรี่ยงแดง), มะไฟ(คนเมือง,เมี่ยน), ตั่วเหลงกู่(ม้ง), เพียะชาล(ลั้วะ) |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Baccaurea ramiflora Lour. |
ชื่อวงค์ |
Phyllanthaceae (Euphorbiaceae) |
ภาพถ่าย |
|
ภาพถ่าย |
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ไม้ต้น ขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ, สูง 13 – 17 ม. ตามยอดและปลายกิ่งอ่อนมีขน
ใบ เดี่ยว เรียงสลับกัน รูปรีแกมรูปหอก รูปหอกกลับ หรือรูปไข่กลับ โคนใบแหลม ขอบใบเรียบหรือหยักตื้นๆ ไม่สม่ำเสมอ ปลายใบเรียวแหลม กว้าง 4.5 – 8 ซม. ยาว 10.5 – 22 ซม. เส้นแขนงใบมี 5 – 8 คู่, ด้านล่างนูน ไม่มีขนทั้งสองด้าน เนื้อใบค่อนข้างบาง ก้านใบยาว 1.5 – 6 ซม.
ดอก ออกเป็นช่อยาวๆ ตามง่ามใยและตามกิ่งที่ไร้ใบ สีเหลือง ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียส่วนมากอยู่ต่างต้นกัน ส่วนน้อยที่อยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกมีขน ดอกเพศผู้ ออกเป็นช่อยาว 5 – 7.5 ซม. ใบประดับรูปหอก กว้าง 2 – 3มม. กลีบรองกลีบดอกมี 4 – 5 กลีบ, ขนาดไม่เท่ากัน เกสรผู้มี 4 – 8 อัน. ดอกเพศเมีย ออกเป็นช่อยาวมาก, มีใบประดับอยู่ที่โคนก้านดอก; กลีบรองกลีบดอกรูปขอบขนานแคบๆ ยาวประมาณ 1.2 ซม. รังไข่มีขน ไม่มีท่อรังไข่ ปลายเกสรแยกเป็น 2 – 3 อัน ภายในมี 3 ช่อง
ผล ค่อนข้างกลมหรือรี เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 25 มม. ผิวสีเหลือง ไม่มีขน มี 1 – 3 เมล็ด เนื้อหุ้มเมล็ดสีขาวขุ่น รสเปรี้ยวอมหวาน
|
ใบ |
ใบ เดี่ยว เรียงสลับกัน รูปรีแกมรูปหอก รูปหอกกลับ หรือรูปไข่กลับ โคนใบแหลม ขอบใบเรียบหรือหยักตื้นๆ ไม่สม่ำเสมอ ปลายใบเรียวแหลม กว้าง 4.5 – 8 ซม. ยาว 10.5 – 22 ซม. เส้นแขนงใบมี 5 – 8 คู่, ด้านล่างนูน ไม่มีขนทั้งสองด้าน เนื้อใบค่อนข้างบาง ก้านใบยาว 1.5 – 6 ซม.
|
ดอก |
ดอก ออกเป็นช่อยาวๆ ตามง่ามใยและตามกิ่งที่ไร้ใบ สีเหลือง ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียส่วนมากอยู่ต่างต้นกัน ส่วนน้อยที่อยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกมีขน ดอกเพศผู้ ออกเป็นช่อยาว 5 – 7.5 ซม. ใบประดับรูปหอก กว้าง 2 – 3มม. กลีบรองกลีบดอกมี 4 – 5 กลีบ, ขนาดไม่เท่ากัน เกสรผู้มี 4 – 8 อัน. ดอกเพศเมีย ออกเป็นช่อยาวมาก, มีใบประดับอยู่ที่โคนก้านดอก; กลีบรองกลีบดอกรูปขอบขนานแคบๆ ยาวประมาณ 1.2 ซม. รังไข่มีขน ไม่มีท่อรังไข่ ปลายเกสรแยกเป็น 2 – 3 อัน ภายในมี 3 ช่อง
|
ผล |
ผล ค่อนข้างกลมหรือรี เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 25 มม. ผิวสีเหลือง ไม่มีขน มี 1 – 3 เมล็ด เนื้อหุ้มเมล็ดสีขาวขุ่น รสเปรี้ยวอมหวาน
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
ลสุก รับประทานได้ มีรสเปรี้ยว(กะเหรี่ยง,ไทลื้อ,ปะหล่อง,ลั้วะ,กะเหรี่ยงแดง,คนเมือง,ม้ง)
- ราก น้ำต้มราก, รวมกับสมุนไพรอื่น ๆ ,ดื่มแก้ท้องร่วง หลังการคลอดบุตร ; เผาไฟกินเป็นยาถอนพิษ, ดับพิษร้อน, ทาแก้บวม, อักเสบ . ต้น เปลือกทำเป็นยาทาภายนอก, แก้โรคผิวหนังบางชนิด
- รากใช้รากสด หรือรากแห้ง นำมาปรุงเป็นยาแก้พิษตานซาง แก้วัณโรค แก้ฝีภายใน ดับพิษร้อน พิษกำมะลอและเริม เป็นต้น
|
|
|
 |
|
|
|
 |
|