Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 

กระท้อนป่า

 

ชื่อ กระท้อนป่า
ชื่อพื้นเมือง เตียน ล่อน สะท้อน (ภาคใต้) มะต้อง (ภาคเหนือ, อุดรธานี) มะติ๋น (ภาคเหนือ) สตียา สะตู (มาเลย์- นราธิวาส) สะโต (มาเลย์-ปัตตานี)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Sandoricum koetjape (Burm.f.) Merr.
ชื่อวงค์ Meliaceae
ภาพถ่าย
ภาพถ่าย
ลักษณะ

ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่  สูงถึง 45 ม. ลำต้นแตกเป็นร่อง บางครั้งพบมีพูพอนสูงถึง 3 ม. เปลือกสีน้ำตาลชมพูอ่อน เรียบ มีช่องอากาศ หรือเปลือกลอกออกเป็นแผ่นกลม เรือนยอดเป็นรูปโดม  เปลือกลำต้นชั้นนอกมีสีเทา มีจุดสีขาวเป็นวงบริเวณลำต้น ผิวเรียบ เปลือกไม่หลุดออก มียางสีแดงหรือสีน้ำตาล
ใบ ใบเรียงสลับ ใบประกอบแบบนิ้วมือ มี 3 ใบย่อย ใบย่อยรูปไข่หรือรูปรี โคนใบกลมหรือมน ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบเป็นคลื่น ผิวใบเป็นคลื่น มีไขนวลปกคลุม ด้านล่างเส้นใบนูนเด่น ใบมีสีเขียว เมื่อแก่จะมีสีเหลือง แล้วค่อยๆ แดง แล้วจะร่วงหล่น ก้านใบมน
ดอก เป็นช่อตั้ง เกิดตามปลายกิ่ง
ผล ผลเดี่ยวแบบผลสดมีขนกำมะหยี่ เมื่อแก่มีสีเขียวเข้ม เมื่อสุกมีสีเหลือง  ผิวขรุขระ เนื้อนิ่ม ฉ่ำน้ำ รสหวานอมเปรี้ยว เมล็ดกลมรี มีเยื่อหุ้มสีขาว เกิดมาจากเปลือก

สรรพคุณ

ราก (สุมเป็นถ่าน) รสฝาดเย็น ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้ไข้รากสาด  แก้บิด แก้ท้องร่วง  หรือตำกับน้ำและน้ำส้มสายชู ดื่มแก้ท้องเดิน และช่วยขับลม ใช้ผสมยามหานิล มหากาฬ
       เป็นส่วนประกอบในยาสมุนไพรรักษาโรคริดสีดวงทวารหนัก ซึ่งประกอบด้วยสมุนไพรอื่นๆ เช่น รากมะพร้าวไฟ รากข่อย รากมะโจ้ก รากฝรั่ง รากทับทิม นำทั้งหมดมาต้มน้ำดื่ม
ใบ ผสมน้ำต้มอาบขับเหงื่อ แก้ไข้ รักษาโรคผิวหนัง
เป็นผลไม้มีสารแอนติออกซิแดนท์สูง ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการเกิดมะเร็ง บำรุง วิตามินบี 1 และวิตามินซี