Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 

มะหนุนเรือน

 

ชื่อ

ขนุน

ชื่อพื้นเมือง

ขนุน ขะหนุน (เหนือ,ใต้) หมักหมี้ บักมี่ (อีสาน) ขะนู (ชอง-จันทบุรี) นากอ (มลายู-ปัตตานี) โนน (ชาวบน-นครราชสีมา) จนุร, ขะเนอ (เขมร)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus heterophyllus Lamk.
ชื่อวงค์ MORACEAE
ภาพถ่าย
ลักษณะพืช

เป็นไม้ผลยืนต้นขนาดใหญ่ ปลูกง่าย เติบโตเร็ว ผลขนุนมีขนาด ใหญ่ รูปกลมหรือกลมยาว เปลือกมีหนามแหลมสั้นรอบผล เนื้อขนุนเป็นที่นิยม รับประทานกันทั่วไป เนื้อมีลักษณะเป็นยวงมีเมล็ดอยู่ข้างใน มีทั้งเนื้อชนิดหนา เนื้อ บาง เนื้อแห้งกรอบ และเนื้อเละ สีของเนื้อแตกต่างกันไปแล้วแต่พันธุ์

การใช้ประโยชน์

ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบ ราก (ขนุนละมุด) แก่นและราก ยาง เนื้อหุ้มเมล็ด เนื้อในเมล็ด รสและสรรพคุณในตำรายาไทย
         1. ใบ รสฝาดมัน รักษาหนองเรื้อรัง ใบสดนำมาตำให้ละเอียดอุ่นพอกแผล
         2. ราก (ขนุนละมุด) รสหวานอมขม แก้ท้องร่วง แก้ไข้ แก้ธาตุน้ำกำเริบ โลหิตพิการ ฝาดสมาน บำรุงกำลัง บำรุงโลหิต
         3. แก่นและราก รสหวานอมขม บำรุงโลหิต แก้กามโรค ขับพยาธิ ระงับประสาท แก้โรคลมชัก
         4. ยาง รสจืด ฝาดเฝื่อน แก้อักเสบบวม แผลมีหนองเรื้อรัง แก้ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ขับพยาธิ ขับน้ำนม
         5. เนื้อหุ้มเมล็ด รสหวานมันหอม บำรุงกำลัง ชูหัวใจให้ชุ่มชื่น
         6. เนื้อในเมล็ด รสหวานมัน บำรุงน้ำนม ขับน้ำนม บำรุงกำลัง 
ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร ยอดอ่อนรสฝาดอมเปรี้ยวเล็กน้อย ใบอ่อนและผลอ่อนรสมันหวาน