ชื่อ |
ลำไยป่า |
ชื่อพื้นเมือง |
แก้วลาว (จันทบุรี), ขี้อ้าย (ลำปาง), ลำไยป่า (อุตรดิตถ์), มะค่าลิ้น (อุตรดิตถ์, ปราจีนบุรี) |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
WalsuratrichostemonMiq. |
ชื่อวงค์ |
MELIACEAE |
ภาพถ่าย |
|
ภาพถ่าย |
|
|
ต้นกัดลิ้น หรือ ต้นลำไยป่า จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 5-12 เมตร ลักษณะของต้นเป็นทรงเรือนยอดแผ่กว้างถึงค่อนข้างกลม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ในประเทศไทยสามารถพบได้ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนต่างประเทศนั้นจะพบได้มากในประเทศพม่าและกัมพูชา
ใบกัดลิ้น มีใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อยจำนวน 3 ใบ โดยใบย่อยใบกลางจะมีขนาดใหญ่สุด ใบย่อยคู่ข้างจะอยู่ตรงข้ามกัน ส่วนที่เชื่อมกับก้านใบย่อยจะป่องเป็นข้อ ลักษณะใบย่อยเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนานถึงรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหม ส่วนโคนใบสอบ ผิวใบด้านบนสีเขียว ส่วนท้องใบสีอ่อนกว่า
ดอกกัดลิ้น ออกดอกเป็นช่อแบบแยกแขนงตามปลายกิ่ง มีขนสั้นสีน้ำตาลอ่อน ๆ ดอกกัดลิ้นมีขนาดเล็ก มีกลบเลี้ยง 5 กลีบมีขนาดเล็กมาก ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมและมีขนสั้น ส่วนกลีบดอกมี 5 กลีบ เป็นสีขาวนวล ลักษณะกลีบดอกเป็นรูปขอบขนานปลายมน มีความยาวประมาณ 6 เท่าของกลีบเลี้ยง ด้านนอกมีขนสั้น มีเกสรตัวผู้ 10 อัน
ผลกัดลิ้น ผลมีลักษณะกลม เมื่อสุกผลจะเป็นสีเหลือง มีขนสั้นสีน้ำตาลอ่อน ๆ ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด โดยเมล็ดมีลักษณะกลม มีเยื่อนุ่ม ๆ หุ้มเมล็ดอยู่
|
|
ผลสุกใช้รับประทาน สามารถช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ได้ (ผลสุก)
สรรพคุณกัดลิ้น ช่วยขับลมในลำไส้ (ราก)
ชาวอีสานใช้กัดลิ้นเป็นส่วนผสมในยารักษาโรคริดสีดวงทวาร (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
กัดลิ้น สรรพคุณช่วยห้ามเลือด ใช้ชำระล้างบาดแผล (เปลือก)
ช่วยสมานบาดแผล (เปลือก)
ช่วยรักษาแผลเปื่อย (เนื้อผลสุก)
สมุนไพรกัดลิ้น สมุนไพรแก้หิดสุกหิดเปื่อย ใช้ต้มทั้งเปลือกทั้งแก่นผสมกับยาอื่น (แก่น,เปลือก)
ช่วยบำรุงเส้นเอ็น แก้เส้นเอ็นพิการ (ราก,ต้น)
ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย (ราก) |
|
ผลสุกมีรสหวานใช้รับประทานเป็นผลไม้ได้
ผลสุกนำมาใช้ทำส้มตำร่วมกับผลตะโก
เนื้อไม้หรือลำต้นใช้สำหรับการก่อสร้าง
เนื้อไม้สามารถนำมาใช้ทำเป็นฟืนที่ให้ความร้อนสูงได้
|